การพัฒนากับการเปลี่ยนแปลง
การพัฒนากับการเปลี่ยนแปลง
ปรัชญาการพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้น คือการพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนมีความ “กินดี อยู่ดี มีความสุข” สำหรับการกินดี อยู่ดีนั้น มีดัชนีวัดในหลายลักษณะเช่น รายได้ต่อหัวของประชากร (gross domestic product per capita, GDP) หรือวัดในรูปการเปรียบเทียบรายได้เป็นอำนาจซื้อของแต่ละประเทศ (purchasing power parity, PPP) ดัชนีการวัดเป็น PPP นั้นจะทำให้เห็นการเปรียบเทียบถึงการกินดี อยู่ดีของประเทศต่างๆได้ดีกว่า มีความเป็นรูปธรรมค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม GDP หรือ PPP เป็นตัวเลขที่บอกเป็นค่าเฉลี่ยของรายได้ต่อหัวประชากรเท่านั้น แต่รายได้จริงอาจเป็นลักษณะเกาะกลุ่ม ทำให้เกิดข่องว่างของรายได้ระหว่างกลุ่มได้ ในทางเศรษฐศาสตร์จะมีการแบ่งการกระจายรายได้ออกเป็น 5 กลุ่ม ถ้ารายได้เกิดการกระจายดีไม่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างกลุ่มมาก ประชาชนก็มีโอกาสที่จะมีการ “กินดี อยู่ดี” สำหรับดัชนีการวัด “การมีความสุข” เป็นการวัดถึงความพึงพอใจใน “คุณภาพชีวิต” (quality of life) ตามมาตรฐานการครองชีพหรือความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศนั้นๆ การวัดมีลักษณะเป็นนามธรรม เป็นการให้ตอบคำถาม ปัจจัยที่จะนำไปสู่คำตอบแต่ละคำถามจึงอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคลและแต่ละสถานการณ์ ดังนั้นดัชนี “การกินดี อยู่ดี” ที่วัดออกมาเป็นรายได้บางครั้งจึงอาจไม่สัมพันธ์โดยตรงกับดัชนี “การมีความสุข” ที่วัดถึงความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตแต่อย่างใด หมายความว่าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประชากรมีรายได้สูง ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าประชาชนจะมีความสุขหรือพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของตนเองแต่อย่างใด ผู้นำประเทศที่มีหน้าที่ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจึงต้องตระหนักว่า การพัฒนาใดๆก็ตามควรทำให้ “การกินดี อยู่ดี” และ “การมีความสุข” เป็นลักษณะคู่ขนานกันตลอด การพัฒนาใดๆที่ทำเกิดช่องว่างระหว่างรายได้มากเกินไป อาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยของสังคมหรือทำให้มาตรฐานการครองชีพสูงเกินไป ในที่สุดประชากรจะเกิดความรู้สึกที่ไม่พึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตได้ ผู้นำประเทศจึงต้องปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อให้ “การกินดี อยู่ดี มีความสุข” สมกับปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บทความนี้จึงได้ชี้ให้เห็นถึงผลของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาและใคร่ที่จะเสนอกรอบแนวทางหลักๆเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การจำแนกโครงสร้างกลุ่มเศรษฐกิจ (economic subsectors )
โดยทั่วไปอาจจำแนกกลุ่มเศรษฐกิจออกเป็น ๓ กลุ่มหลักๆคือ
- กลุ่มเกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ ( primary sector or agricultural sector ) เป็น
กลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการเพาะปลูก การทำป่าไม้ การประมง การทำเหมืองแร่ หรือการขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น
- กลุ่มอุตสาหกรรม ( secondary sector or industrial sector ) เป็นกลุ่มการผลิตที่เกิดจาก
การแปรรูป หรือการสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือการใช้วัตถุใดๆจากกลุ่มที่หนึ่งแล้วนำไปผ่านขบวนการผลิตเป็นสินค้าอีกลักษณะที่แตกต่างออกไป
- กลุ่มบริการ ( tertiary sector or service sector ) เป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ
เช่น การธนาคาร การค้าขาย การศึกษา การขนส่ง การคมนาคมหรือการสื่อสารเป็นต้น
การพัฒนากับการเปลี่ยนแปลง
การพัฒนาจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในแต่ละกลุ่มเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น มีสัดส่วนเป็นร้อยละในแต่ละกลุ่มที่เปลี่ยนไป นอกจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว การพัฒนาประเทศจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายประชากร (population transfer) จากกลุ่มเศรษฐกิจที่มีมูลค่าต่ำกว่าไปสู่กลุ่มที่มีมูลค่าสูงกว่า หรือพูดง่ายๆก็คือ เคลื่อนย้ายจากเขตที่ทำเกษตรกรรมไปสู่เขตอุตสาหกรรม หรือเขตที่ทำธุระกรรมด้านการค้าการบริการ ยิ่งเขตเมืองหรือเขตอุตสาหกรรมมีการพัฒนาเร็วเท่าใด ชุมชนจะยิ่งขยายตัวออกไปเร็วเท่านั้น มีการเคลื่อนย้ายประชากรจากเขตชนบทไปสู่เขตเมืองเป็นจำนวนมาก ถ้าผู้นำหรือผู้บริหารไม่วางแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขยะมูลฝอย เรื่องอาชญากรรม เรื่องการจราจร เรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องการศึกษา เป็นต้น ดังนั้น นอกจากวางแผนการกระจายเขตอุตสาหกรรมเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรให้เหมาะสมแล้ว ยังต้องวางแผนเพื่อมิให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆด้วย
เนื่องจากโลกปัจจุบันเป็นระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี หรือที่นิยมเรียกกันว่า โลกาภิวัฒน์เป็นระบบที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าโลกเรานี้เล็กลง และดูเสมือนไม่มีพรหมแดน การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ภายในพริบตา ทำให้การกำหนดแนวทางหรือทิศทางการพัฒนาประเทศต้องพิจารณาองค์ประกอบหรือปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น การปรับเปลี่ยนวิธีการกำหนดกำแพงการค้าใหม่แทนการใช้ภาษีศุลกากร การไหลเข้าออกของเงินทุน การย้ายฐานผลิตของสินค้าที่ใช้แรงงาน การเลือกจ้างแรงงานในต่างแดนสำหรับงานผลิตสินค้าบางประเภท เช่น งานผลิตซอร์ฟแวร์ งานผลิตภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหว งานออกแบบ เป็นต้น ดังนั้นการสร้างรายได้เข้าประเทศจึงแตกต่างไปจากยุคก่อนๆที่มีเพียงนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก หรือพึ่งพาจากการท่องเที่ยวเท่านั้น
เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี มีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน จำเป็นต้องทำการศึกษาถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงวิชาชีพ การเปลี่ยนแปลงรายได้ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงวิธีการหรือขบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ฯลฯ ว่าปัจจัยต่างๆเหล่านั้นมีความสัมพันธ์อย่างไร เพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อไป
การพัฒนากับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าในโครงสร้างเศรษฐกิจ
จากการศึกษาโครงสร้างกลุ่มเศรษฐกิจย่อยหลักข้างต้นพบว่า แต่ละกลุ่มย่อยจะมีมูลค่าเศรษฐกิจแตกต่างกัน โดยกลุ่มการเกษตรจะมีมูลค่าต่ำสุด เมื่อเทียบกับอีกสองกลุ่มคิอกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มบริการ เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนแรงงานในแต่ละภาคเศรษฐกิจ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในระดับการพัฒนาของประเทศ คือ ประเทศที่มีระดับการพัฒนาต่ำหรือประเทศกำลังพัฒนาจะมีสัดส่วนแรงงานในภาคการเกษตรค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสัดส่วนแรงงานของประเทศที่พัฒนา ซึ่งในที่สุดก็ส่งผลต่อรายได้ที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ดูตาราง
เปรียบเทียบสัดส่วน มูลค่าเศรษฐกิจ แรงงาน สัดส่วนรายได้ของแต่ละกลุ่มเศรษฐกิจย่อย | |||||||||
% gdp แต่ละกลุ่ม | % แรงงาน แต่ละกลุ่ม | %รายได้แต่ละกลุ่ม | |||||||
American Zone country | เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ |
Argentina | 8.5 | 31.6 | 59.8 | 5.0 | 23.0 | 72.0 | 1.7 | 1.4 | 0.8 |
Brazil | 6.1 | 26.4 | 67.5 | 20.0 | 14.0 | 66.0 | 0.3 | 1.9 | 1.0 |
Canada | 2.0 | 20.0 | 78.0 | 2.0 | 22.0 | 76.0 | 1.0 | 0.9 | 1.0 |
chile | 5.6 | 40.5 | 53.9 | 13.2 | 23.0 | 63.9 | 0.4 | 1.8 | 0.8 |
Mexico | 4.2 | 33.3 | 62.5 | 13.7 | 23.4 | 62.9 | 0.3 | 1.4 | 1.0 |
United States | 1.2 | 22.2 | 76.7 | 0.7 | 20.3 | 79.0 | 1.7 | 1.1 | 1.0 |
Venezuala | 4.1 | 34.9 | 61.1 | 13.0 | 23.0 | 64.0 | 0.3 | 1.5 | 1.0 |
ข้อมูลจาก IMF, World Bank, CIA Factbook, www.photius.com, www.nationmaster.com: ประมวลตาราง ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์
ในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจะมีการใช้ การพัฒนาและการผลิตทรัพยากรที่แตกต่างกัน สำหรับกลุ่มประเทศที่ระดับการพัฒนาต่ำ จะมีการใช้หรือผลผลิตที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศค่อนข้างสูง เช่นมีมูลค่าผลผลิตจากภาคการเกษตร จากแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก ทองแดง น้ำมันดิบ ดีบุก เพชร พลอย เป็นต้น เมื่อประเทศมีการพัฒนามากขึ้น จะเกิดการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรม หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ มากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจจะส่งผลให้มูลค่าในโครงสร้างของแต่ละกลุ่มเศรษฐกิจย่อยดังกล่าวยิ่งเปลี่ยนแปลงไป
ถ้าดูจากข้อมูลทางสถิติจะเห็นว่าเมื่อประเทศมีระดับการพัฒนามากขึ้น มูลค่าของเศรษฐกิจกลุ่มเกษตรกรรมจะลดต่ำลงในขณะที่ มูลค่าของเศรษฐกิจกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มบริการจะเพิ่มสูงขึ้น และโครงสร้างผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการก็อาจแตกต่างกันตามพื้นฐานของระดับการพัฒนาและการศึกษาของประชากรในประเทศด้วย
เปรียบเทียบสัดส่วน มูลค่าเศรษฐกิจ แรงงาน สัดส่วนรายได้ของแต่ละกลุ่มเศรษฐกิจย่อย | |||||||||
European Zone Countries | % gdp แต่ละกลุ่ม | % แรงงาน แต่ละกลุ่ม | %รายได้แต่ละกลุ่ม | ||||||
เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ | |
Belgium | 0.7 | 22.1 | 77.2 | 2.0 | 25.0 | 73.0 | 0.4 | 0.9 | 1.1 |
Denmark | 1.1 | 22.8 | 76.1 | 2.5 | 20.2 | 77.3 | 0.4 | 1.1 | 1.0 |
Germany | 0.8 | 27.9 | 71.3 | 2.4 | 29.7 | 67.8 | 0.3 | 0.9 | 1.1 |
Finland | 2.6 | 29.1 | 68.2 | 4.9 | 23.8 | 71.3 | 0.5 | 1.2 | 1.0 |
France | 1.8 | 19.2 | 79.0 | 3.8 | 24.3 | 71.8 | 0.5 | 0.8 | 1.1 |
Italy | 1.8 | 24.9 | 73.3 | 4.2 | 30.7 | 65.1 | 0.4 | 0.8 | 1.1 |
Netherland | 2.6 | 24.9 | 72.4 | 2.0 | 18.0 | 80.0 | 1.3 | 1.4 | 0.9 |
Norway | 2.1 | 40.1 | 57.8 | 2.9 | 21.1 | 76.0 | 0.7 | 1.9 | 0.8 |
Spain | 2.9 | 25.5 | 71.6 | 4.2 | 24.0 | 71.7 | 0.7 | 1.1 | 1.0 |
Sweden | 1.7 | 26.1 | 72.2 | 1.1 | 28.2 | 70.7 | 1.6 | 0.9 | 1.0 |
Switzerland | 1.3 | 27.5 | 71.2 | 3.4 | 23.4 | 73.2 | 0.4 | 1.2 | 1.0 |
UK | 0.9 | 22.1 | 77.1 | 1.4 | 18.2 | 80.4 | 0.6 | 1.2 | 1.0 |
ข้อมูลจาก IMF, World Bank, CIA Factbook, www.photius.com, www.nationmaster.com: ประมวลตาราง ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ |
เปรียบเทียบสัดส่วน มูลค่าเศรษฐกิจ แรงงาน สัดส่วนรายได้ของแต่ละกลุ่มเศรษฐกิจย่อย | |||||||||
Asian Zone Countries | % gdp แต่ละกลุ่ม | % แรงงาน แต่ละกลุ่ม | %รายได้แต่ละกลุ่ม | ||||||
เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ | |
Australia | 4.0 | 24.8 | 71.2 | 3.6 | 21.1 | 75.0 | 1.1 | 1.2 | 1.0 |
China | 9.6 | 46.8 | 43.6 | 38.1 | 27.8 | 34.1 | 0.3 | 1.7 | 1.3 |
Hong Kong | 0.1 | 7.6 | 92.3 | - | 6.9 | >77 | 1.1 | <1.20 | |
India | 16.1 | 28.6 | 55.3 | 52.0 | 14.0 | 34.0 | 0.3 | 2.0 | 1.6 |
Indonesia | 16.5 | 46.4 | 37.1 | 38.3 | 12.8 | 48.9 | 0.4 | 3.6 | 0.8 |
Japan | 1.1 | 23.0 | 75.9 | 3.9 | 26.2 | 69.8 | 0.3 | 0.9 | 1.1 |
Korea South | 3.0 | 39.4 | 57.6 | 7.3 | 24.3 | 68.4 | 0.4 | 1.6 | 0.8 |
Malaysia | 9.1 | 41.6 | 49.3 | 13.0 | 36.0 | 51.0 | 0.7 | 1.2 | 1.0 |
Philippines | 13.9 | 31.3 | 54.8 | 33.0 | 15.0 | 52.0 | 0.4 | 2.1 | 1.1 |
Singapore | 0.0 | 27.2 | 72.8 | 0.1 | 30.2 | 69.7 | 0.0 | 0.9 | 1.0 |
Taiwan | 1.4 | 31.1 | 67.5 | 5.2 | 35.9 | 58.8 | 0.3 | 0.9 | 1.2 |
Thailand | 10.4 | 45.6 | 44.0 | 42.4 | 19.7 | 37.9 | 0.3 | 2.3 | 1.2 |
Vietnam | 20.6 | 41.1 | 38.3 | 53.9 | 20.3 | 25.8 | 0.4 | 2.0 | 1.5 |
ข้อมูลจาก IMF, World Bank, CIA Factbook, www.photius.com, www.nationmaster.com: ประมวลตาราง ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ |
การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแรงงาน
จากการวิเคราะห์โครงสร้างสัดส่วนประชากรในแต่ละกลุ่มย่อยเศรษฐกิจ จะพบว่าประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีสัดส่วนรายได้ประชาชาติต่อคนต่ำกว่าประเทศที่มีระดับการพัฒนาปานกลางและประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในทางกลับกันประเทศกำลังพัฒนาจะมีสัดส่วนแรงงานในภาคการเกษตรสูงกว่าประเทศที่มีระดับการพัฒนาปานกลางและประเทศที่พัฒนาดังที่ปรากฏในตาราง
เปรียบเทียบสัดส่วนรายได้ต่อหัวและสัดส่วนแรงงานในแต่ละภาคเศรษฐกิจ | ||||||||
ประเทศ | จำนวน | รายได้ | % gdp แต่ละกลุ่ม | % แรงงาน แต่ละกลุ่ม | ||||
รายได้ต่ำ | ประชากร | ต่อคน $ | เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ |
China | 1,137.01 | 2,940 | 9.6 | 46.8 | 43.6 | 38.1 | 27.8 | 34.1 |
India | 1,179.70 | 1,070 | 16.1 | 28.6 | 55.3 | 52.0 | 14.0 | 34.0 |
Indonesia | 231.37 | 2,010 | 16.5 | 46.4 | 37.1 | 38.3 | 12.8 | 48.9 |
Malaysia | 28.31 | 6,970 | 9.1 | 41.6 | 49.3 | 13.0 | 36.0 | 51.0 |
Thailand | 63.53 | 2,840 | 10.4 | 45.6 | 44.0 | 42.4 | 19.7 | 37.9 |
Vietnam | 85.79 | 890 | 20.6 | 41.1 | 38.3 | 53.9 | 20.3 | 25.8 |
ประมวลข้อมูลโดย ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ IMF, CIA Factbook, World Bank, photius.com, nationmaster.com |
เปรียบเทียบสัดส่วนรายได้ต่อหัวและสัดส่วนแรงงานในแต่ละภาคเศรษฐกิจ | ||||||||
ประเทศ | จำนวน | รายได้ | % gdp แต่ละกลุ่ม | % แรงงาน แต่ละกลุ่ม | ||||
รายได้ปานกลาง | ประชากร | ต่อคน $ | เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ |
Argentina | 40.13 | 7,200 | 8.5 | 31.6 | 59.8 | 5.0 | 23.0 | 72.0 |
Brazil | 192.8 | 7,300 | 6.1 | 26.4 | 67.5 | 20.0 | 14.0 | 66.0 |
chile | 17.06 | 9,400 | 5.6 | 40.5 | 53.9 | 13.2 | 23.0 | 63.9 |
Mexico | 107.55 | 9,980 | 4.2 | 33.3 | 62.5 | 13.7 | 23.4 | 62.9 |
ประมวลข้อมูลโดย ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ IMF, CIA Factbook, World Bank, photius.com, nationmaster.com |
เปรียบเทียบสัดส่วนรายได้ต่อหัวและสัดส่วนแรงงานในแต่ละภาคเศรษฐกิจ | ||||||||
ประเทศ | จำนวน | รายได้ | % gdp แต่ละกลุ่ม | % แรงงาน แต่ละกลุ่ม | ||||
รายได้สูง | ประชากร | ต่อคน $ | เกษคร | อุต. | บริการ | เกษคร | อุต. | บริการ |
Canada | 34.07 | 41,730 | 2.0 | 20.0 | 78.0 | 2.0 | 22.0 | 76.0 |
United States | 309.09 | 47,580 | 1.2 | 22.2 | 76.7 | 0.7 | 20.3 | 79.0 |
Germany | 81.76 | 42,440 | 0.8 | 27.9 | 71.3 | 2.4 | 29.7 | 67.8 |
Netherland | 16.6 | 50,150 | 2.6 | 24.9 | 72.4 | 2.0 | 18.0 | 80.0 |
Sweden | 9.35 | 50,940 | 1.7 | 26.1 | 72.2 | 1.1 | 28.2 | 70.7 |
Japan | 127.38 | 38,210 | 1.1 | 23.0 | 75.9 | 3.9 | 26.2 | 69.8 |
Korea South | 49.77 | 21,530 | 3.0 | 39.4 | 57.6 | 7.3 | 24.3 | 68.4 |
ประมวลข้อมูลโดย ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ IMF, CIA Factbook, World Bank, photius.com, nationmaster.com |
การพัฒนากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรายได้ประชากร
จากการเปรียบเทียบรายได้ของประเทศต่างๆที่มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน จะเห็นว่า เมื่อประเทศมีระดับการพัฒนาสูงขึ้นจะมีระดับรายได้มากขึ้นตามตาราง
เปรียบเทียบระดับการพัฒนากับรายได้ต่อประชากร | |||||
countries | gdp/cap | countries | gdp/cap | countries | gdp/cap |
China: | 4,382 | Argentina: | 9,138 | canada | 46,215 |
Indonesia: | 3,015 | Brazil: | 10,816 | united states | 47,284 |
Malaysia: | 7,731 | Chile: | 11,828 | france | 41,019 |
Philippines: | 2,007 | Mexico: | 9,566 | germany | 40,631 |
Thailand: | 4,992 | Venezuela: | 9,960 | switzerland | 67,246 |
Vietnam: | 1,174 | u.k. | 36,120 |
เป็นที่ชัดเจนเพียงพอว่ารูปแบบการพัฒนาประเทศดังที่ผ่านมานั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ โครงสร้างรายได้ต่อประชากร และโครงสร้างแรงงานของประชากร โดยกลุ่มเกษตรจะมีมูลค่าต่ำสุด ทำให้เกษตรกรจะมีรายได้น้อยที่สุด สัดส่วนแรงงานในภาคเกษตรกรรมจะค่อยๆลดลง ส่วนภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจะเพิ่มสูงขึ้น
ประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรประมาณ us$ 1,000-7,000 เช่น ประเทศอินเดีย มีสัดส่วนแรงงานในภาคการเกษตรร้อยละ 52 และมีสัดส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการรวมกันในอัตราร้อยละ 48 หรือประเทศไทยมีสัดส่วนแรงงานในภาคการเกษตรร้อยละ 48 และมีสัดส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการรวมกันในอัตราร้อยละ 52
เมื่อพิจารณาตารางของกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาปานกลาง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรประมาณ us$ 7,000-10,000 เช่น ประเทศบราซิล มีสัดส่วนประชากรในภาคการเกษตรร้อยละ 20 และมีสัดส่วนประชากรในภาคอุตสาหกรรมและบริการรวมกันในอัตราร้อยละ 80 หรือประเทศเม็กซิโกมีสัดส่วนแรงงานในภาคการเกษตรร้อยละ 13.7 และมีสัดส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการรวมกันในอัตราร้อยละ 86.3
แต่เมื่อพิจารณาถึงประเทศที่พัฒนา เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมันนี สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรประมาณ us$ 20,000-50,000 มีแรงงานในกลุ่มเกษตรกรรมเพียงร้อยละ 1-7 ในขณะที่มีแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มบริการมีรวมกันถึงร้อยละ 80-99
อย่างไรก็ตามการพัฒนาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรายได้และแรงดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆเช่น มีพื้นฐานการศึกษาและเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม มีแหล่งเงินเพื่อการลงทุน มีการฝึกฝนฝีมือแรงงาน มีความสามารถเชิงการบริหารจัดการ ตลอดจนการเสริมสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาความคิดสร้างสรรและการสร้างนวัตกรรม
สรุป
ข้อเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิเคราะห์เชิงเอกสารเพื่อแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญเติบโตเชิงเศรษฐกิจนั้น จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างต่างๆมากมาย ในข้อเขียนข้างต้น แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงเศรษฐกิจ ตั้งแต่โครงสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจในแต่ละกลุ่มเศรษฐกิจย่อย โครงสร้างรายได้ต่อประชากร โครงสร้างอาชีพ เป็นต้น สำหรับในครั้งต่อๆไปจะเป็นความต่อเนื่องของการพัฒนาที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่นๆทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม
อ้างอิง:
http://www.nationmaster.com/cat/eco-economy
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/
http://www.theodora.com/wfbcurrent/index.html
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)_per_capita
http://www.photius.com/rankings/economy/gdp_per_capita_2011_0.html
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_past_and_future_GDP_(nominal)_per_capita